BTS:
- ต้องใช้เหรียญในการซื้อตั๋ว ทำให้ต้องเสียเวลาไปแลกเหรียญก่อน
- ต้องกดเลือกเบอร์สถานีปลายทางก่อนจะใส่เงินเข้าเครื่อง ซึ่งกลับกับที่ญี่ปุ่นที่ใส่เงินเข้าไปก่อนแล้วค่อยเลือกสถานี
- ซื้อตั๋วได้ครั้งละใบ ถ้าไปกับเพื่อนหลายคน ก็ต้องรอซื้อกันให้ครบทุกคน
- ตั๋วมีขนาดใหญ่เท่าบัตรโทรศัพท์
- ต้องใส่ตั๋วเข้าเครื่องรับตั๋วตามทิศทางที่เขียนไว้บนตั๋ว ใส่มั่วๆไม่ได้ ต้องเสียเวลาดูทิศทางก่อนจะใส่ตั๋วเข้าเครื่อง
- พอใส่ตั๋วเข้าเครื่องแล้ว ผู้ใช้ต้องรอตั๋วออกมาแล้วหยิบตั๋วก่อน ประตูจึงจะเปิดให้เข้าไปในสถานี และถ้าไม่รีบเดินผ่านไปประตูมันจะปิดหนีบเลย ของญี่ปุ่นจะเป็นแบบว่าใส่ตั๋วเข้าไปในเครื่อง แล้วก็เดินผ่านประตูไป ตั๋วจะออกมารอตรงปลายของเครื่องรับตั๋ว สะดวกและรวดเร็วมากๆ
- ในรถไม่มีที่วางของ ที่จับมีน้อย มีเสาเยอะแยะ
- แอร์เย็นดีกว่าของญี่ปุ่น
- เห็นคนนั่งใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ญี่ปุ่นห้ามใช้โทรศัพท์ในรถไฟฟ้า
MRT:
- ใช้ธนบัตรซื้อตั๋วได้ แต่ขั้นตอนการซื้อก็เหมือนกับ BTS คือเลือกสถานีก่อนแล้วค่อยใส่เงิน
- ช่องสำหรับให้ตั๋วออกมา มีขนาดกว้างและอยู่ต่ำเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานต้องก้มลงไปมากและเสียเวลาควานหาตั๋วพอควร
- ช่องสำหรับเงินทอนอยู่ที่เดียวกับช่องตั๋วออก ซึ่งก็กว้างและอยู่ต่ำ ทำให้ผู้ใช้งานต้องก้มลงไปมากและเสียเวลาควานหาเงินทอนพอควร
- จาก 2 และ 3 ทำให้ คนคนนึงใช้เวลาซื้อตั๋วจากเครื่องนานพอควร ผู้ใช้จึงนิยมที่จะไปซื้อตั๋วกับช่องขายตั๋วที่มีพนักงานขายตั๋ว เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า
- ซื้อตั๋วได้ครั้งละอัน ถ้าไปกับเพื่อนหลายคน ก็ต้องรอซื้อกันให้ครบทุกคน
- ตั๋วมีลักษณะเป็นเหรียญพลาสติก
- เครื่องรับตั๋วทำได้รวดเร็วดีกว่าของ BTS เพราะไม่ต้องใส่ตั๋วเข้าไปในเครื่อง แค่แตะแล้วก็เดินเข้าไปได้เลย
- ในรถไม่มีที่วางของ ที่จับมีน้อย มีเสาเยอะแยะ
- แอร์เย็นดีกว่าของญี่ปุ่น
- เห็นคนนั่งใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ญี่ปุ่นห้ามใช้โทรศัพท์ในรถไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟไปกลับวันนึง 68 บาท ยังไม่รวมส่วนที่เดินทางด้วยรถยนต์จากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้า
ค่อนข้างสูงเหมือนกันเมื่อเทียบกับรายได้