มุกตลก [-ตะหลก] วิธีทำให้ขบขัน
อ้าว..ตกลงเขียนแบบไหนถึงถูกล่ะเนี่ย? ลองค้นข้อมูลด้วย google เจอว่ามีคนถกถึงคำนี้บ่อยๆเลย ผลการค้นที่น่าสนใจก็มีที่ เนชั่น สุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 628 วันที่ 14 - 20 มิ.ย. 2547 โดยในคอลัมภ์ สิงห์สนามหลวงสนทนา โดยคุณสิงห์สนามหลวง เป็นการนำจดหมายจากผู้อ่านมาพูดคุยกัน ขอยกเนื้อความมาเลยดีกว่า เพราะเดี๋ยวมันจะหายไปจาก Internet เสียก่อน
ปรายตามอง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ชลัมพุ : จตุจักร กรุงเทพฯ
ถ - สวัสดีค่ะสิงห์ฯที่นับถือ
ไม่พูดพร่ำทำเพลงนะคะ ขอเข้าเรื่องที่ค้างคาใจเลยดีกว่าค่ะ
ด้วยงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้มีเหตุให้ต้องพึ่งพาพจนานุกรมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย เรียกได้ว่าเป็นคู่มือและเครื่องมือทำมาหากินเลยล่ะค่ะ โดยใช้ควบคู่กับ 'อ่านอย่างไร' ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งเล่มเล็กเล่มนี้อำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดีสำหรับคำที่มักใช้กันด้วยความเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ
แล้วอยู่มาวันหนึ่งด้วยความว่างงาน..เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ดูเล่นๆ แก้เซ็ง..ก็ยิ่งงงและเซ็งหนักเข้าไปใหญ่ เมื่อบังเอิญไล่สายตาไปพบคำว่า ไม่ยี่หระ หน้า 884 บรรทัดที่ 12 มีความหมายในบรรทัดที่ 13 ว่า ไม่ไยดี ซึ่งตรง 'ใยดี' ใช้ 'ใ' แต่พอพลิกหาดูคำว่า ใยดี กลับพบแต่คำว่า ไยดี พร้อมความหมาย
หน้า 964 รูปพรรณสัณฐาน น.รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสันฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว
หน้า 1345 อะดรีนาลิน คือทับศัพท์ที่บัญญัติไว้ แต่เมื่อพลิกไปที่หน้า 1404 คำว่า ฮอร์โมน มีการยกตัวอย่างคือ..เช่น อินซูลินบางชนิดเป็นสารเคมีธรรมดา เช่น อะดรีนาลีน
ส่วนคำสุดท้ายที่สร้างความสับสนให้อย่างมากและคิดว่าน่าจะมีปัญหามากคือคำว่า มุกตลก ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยึดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เป็นหลักต้องเขียนคำนี้เป็นแบบนี้ตามที่บัญญัติไว้แน่นอน
หน้า 867 มุกตลก น.วิธีทำให้ขบขัน
แต่ใน 'อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร' ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 111 ในส่วนของคำที่มักเขียนผิด ซึ่งผู้อ่านต้องเขียนใหม่ให้ถูกต้องตามหนังสือเล่มนี้ เขียนไว้ว่า
คำที่ถูกต้อง = มุขตลก
มักเขียนผิดเป็น มุกตลก
ซึ่งขัดแย้งอย่างแรงกับคำโปรยปกที่ว่า 'แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542'
แสดงว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 พิมพ์ผิด?? อย่างนั้นหรือเปล่าคะ
ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวน่าจะสะกดด้วย ข (มุข) ซึ่งมีความหมายว่า หน้า, ปาก เพราะคำพูดออกมาจากปาก ไม่ใช่มาจากหอย (มุก)
อีกคำที่บังเอิญเห็นคือในเล่ม อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร
หน้า 104 คำที่ถูกต้อง = เปรมปรีด์ มักเขียนผิดเป็น เปรมปรี ทั้งๆ ที่หน้า 709 ของพจนานุกรมเล่มใหญ่เขียนว่า เปรมปรีดิ์
ในฐานะคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหนังสือ ยอมรับค่ะว่าความผิดพลาดในการพิสูจน์อักษรเกิดขึ้นได้เสมอ และสามารถเกิดได้กับหนังสือทุกเล่มทุกประเภทอย่างไม่มีข้อยกเว้น
แต่น่าจะยกเว้นอยู่ประเภทหนึ่งคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการให้การศึกษา ให้ความรู้กับประชาชนคนไทยทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ที่รณรงค์กันนักหนาให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องสมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย
ทั้งหมดที่เขียนมานี้ขอรับรองว่าเป็นแค่ความบังเอิญในการค้นพบ ไม่ใช่เป็นการตั้งหน้าตั้งตาอ่านเพื่อจับผิดแต่อย่างใด
คุณตาที่บ้านอายุ 91 ปี ซื้อ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ราคา 600 บาท แจกหลานและเก็บไว้รวมทั้งหมด 4 เล่ม ส่วนตัวเองซื้อ 2เล่ม ไว้ที่บ้านกับที่ทำงาน หนังสือเล่มนี้ถ้าขายได้หมดตามยอดพิมพ์ คือ 200,000เล่ม..!!!???
เคยเชื่อมั่นว่า ราชบัณฑิต เป็นที่พึ่งได้..แต่บัดนี้เริ่มไม่ค่อยเชื่อมั่นแล้วค่ะ
ชลัมพุ : จตุจักร กรุงเทพฯ
ถ - สวัสดีค่ะสิงห์ฯที่นับถือ
ไม่พูดพร่ำทำเพลงนะคะ ขอเข้าเรื่องที่ค้างคาใจเลยดีกว่าค่ะ
ด้วยงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้มีเหตุให้ต้องพึ่งพาพจนานุกรมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย เรียกได้ว่าเป็นคู่มือและเครื่องมือทำมาหากินเลยล่ะค่ะ โดยใช้ควบคู่กับ 'อ่านอย่างไร' ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งเล่มเล็กเล่มนี้อำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดีสำหรับคำที่มักใช้กันด้วยความเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ
แล้วอยู่มาวันหนึ่งด้วยความว่างงาน..เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ดูเล่นๆ แก้เซ็ง..ก็ยิ่งงงและเซ็งหนักเข้าไปใหญ่ เมื่อบังเอิญไล่สายตาไปพบคำว่า ไม่ยี่หระ หน้า 884 บรรทัดที่ 12 มีความหมายในบรรทัดที่ 13 ว่า ไม่ไยดี ซึ่งตรง 'ใยดี' ใช้ 'ใ' แต่พอพลิกหาดูคำว่า ใยดี กลับพบแต่คำว่า ไยดี พร้อมความหมาย
หน้า 964 รูปพรรณสัณฐาน น.รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสันฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว
หน้า 1345 อะดรีนาลิน คือทับศัพท์ที่บัญญัติไว้ แต่เมื่อพลิกไปที่หน้า 1404 คำว่า ฮอร์โมน มีการยกตัวอย่างคือ..เช่น อินซูลินบางชนิดเป็นสารเคมีธรรมดา เช่น อะดรีนาลีน
ส่วนคำสุดท้ายที่สร้างความสับสนให้อย่างมากและคิดว่าน่าจะมีปัญหามากคือคำว่า มุกตลก ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยึดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เป็นหลักต้องเขียนคำนี้เป็นแบบนี้ตามที่บัญญัติไว้แน่นอน
หน้า 867 มุกตลก น.วิธีทำให้ขบขัน
แต่ใน 'อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร' ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 111 ในส่วนของคำที่มักเขียนผิด ซึ่งผู้อ่านต้องเขียนใหม่ให้ถูกต้องตามหนังสือเล่มนี้ เขียนไว้ว่า
คำที่ถูกต้อง = มุขตลก
มักเขียนผิดเป็น มุกตลก
ซึ่งขัดแย้งอย่างแรงกับคำโปรยปกที่ว่า 'แก้ไขปรับปรุงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542'
แสดงว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 พิมพ์ผิด?? อย่างนั้นหรือเปล่าคะ
ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวน่าจะสะกดด้วย ข (มุข) ซึ่งมีความหมายว่า หน้า, ปาก เพราะคำพูดออกมาจากปาก ไม่ใช่มาจากหอย (มุก)
อีกคำที่บังเอิญเห็นคือในเล่ม อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร
หน้า 104 คำที่ถูกต้อง = เปรมปรีด์ มักเขียนผิดเป็น เปรมปรี ทั้งๆ ที่หน้า 709 ของพจนานุกรมเล่มใหญ่เขียนว่า เปรมปรีดิ์
ในฐานะคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหนังสือ ยอมรับค่ะว่าความผิดพลาดในการพิสูจน์อักษรเกิดขึ้นได้เสมอ และสามารถเกิดได้กับหนังสือทุกเล่มทุกประเภทอย่างไม่มีข้อยกเว้น
แต่น่าจะยกเว้นอยู่ประเภทหนึ่งคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการให้การศึกษา ให้ความรู้กับประชาชนคนไทยทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ที่รณรงค์กันนักหนาให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องสมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย
ทั้งหมดที่เขียนมานี้ขอรับรองว่าเป็นแค่ความบังเอิญในการค้นพบ ไม่ใช่เป็นการตั้งหน้าตั้งตาอ่านเพื่อจับผิดแต่อย่างใด
คุณตาที่บ้านอายุ 91 ปี ซื้อ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ราคา 600 บาท แจกหลานและเก็บไว้รวมทั้งหมด 4 เล่ม ส่วนตัวเองซื้อ 2เล่ม ไว้ที่บ้านกับที่ทำงาน หนังสือเล่มนี้ถ้าขายได้หมดตามยอดพิมพ์ คือ 200,000เล่ม..!!!???
เคยเชื่อมั่นว่า ราชบัณฑิต เป็นที่พึ่งได้..แต่บัดนี้เริ่มไม่ค่อยเชื่อมั่นแล้วค่ะ
ตรงที่เน้นด้วยสีเหลืองนั้นน่างงจริงๆด้วย
ลองค้นจาก Online Dic หลายๆอันดู
Saikam ค้นไม่พบทั้งสองคำ
Longdo ค้นพบทั้งสองคำ
Lexitron ค้นพบแต่ มุขตลก
เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ค้นไม่พบทั้งสองคำเลย
อืมม์... ท่าทางตามที่อ่านๆคิดๆดูแล้ว มุขตลก น่าจะเป็นคำที่ถูกต้องนะ อ่านที่ไหนสักแห่งนึงจำไม่ได้แล้ว เค้าบอกว่าตอนนี้ทางราชบัณฑิตยสถาน กำลังชำระคำต่างๆอยู่แต่ยังไม่ถึงตัว ม คงต้องรอกันต่อไป
Update: 18 July 2007 สรุปว่าใช้ "มุกตลก" ครับ http://punkky.blogspot.com/2005/03/blog-post_09.html
3 comments:
面白い!
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?Search=1&ID=906
ขอบคุณครับ ผม Update เรื่องนี้ไว้ที่
http://punkky.blogspot.com/2005/03/blog-post_09.html แล้วครับ
Post a Comment