Saturday, October 11, 2008

นาฬิกาทำเองหลายๆแบบ My Digital Clock Collection

Hobby ใหม่อันนึงเพิ่มเริ่มได้ไม่นานคือ ทำนาฬิกาอิเล็คทรอนิคส์เล่น เริ่มจากความต้องการนาฬิกาตรงมากๆเพื่อมาให้เป็นเวลาอ้างอิงในการตั้งนาฬิกาและอื่นๆ ทำไปทำมาตอนนี้ก็มีอยู่หลายอันเน้นที่การใช้การแสดงผลด้วยอุปกรณ์ต่างๆกัน นาฬิกาที่ทำมาเป็นในรูปแบบ Prototype คือเป็นบอร์ดแล้วโยงสายไฟเอา ยังไม่ได้ทำลงกล่องสวยงามอะไร บางอันก็แยกชิ้นส่วนไปเป็นเรือนใหม่ๆ วันนี้เอารูปที่เคยถ่ายไว้มาให้ดูกัน
อันนี้เรือนแรกที่เริ่มทำ



อันนี้เป็นนาฬิกาที่ใช้ฐานเวลาจากดาวเทียม GPS ความเที่ยงตรงสุดยอดระดับนาฬิกาอะตอมครับ ใช้จอ LCD แสดงผล ตัวนี้ผมกำลังจะ upgrade จอไปเป็นจอแบบ OLED ที่สวยกว่า ได้จอมาแล้วแต่ยังไม่มีเวลาทำครับ นาฬิกาจะแสดง เวลา วัน วันที่ และจำนวนดาวเทียมที่เห็นตอนนี้ จริงๆแล้วได้ข้อมูล ละติจูด และ ลองจิจูด มาด้วย น่าจะคำนวณ Moon Phase (ข้างขึ้นข้างแรม),พวกน้ำขึ้นนำลง และ equation of time ได้ เอาไว้ทำเป็นโปรเจ็คต่อๆไปครับ



อันนี้ใช้จอ HDSP-211x ของ HP เป็นจอ Vintage ตอนนี้แค่จอนี้ตัวใหม่ก็หลายพันบาทครับ แสดงผลสีเหลืองสวยดี ตัวเลขแสดงเวลาจะวิ่งผ่านหน้าจอทุก 5 วินาที จออันนี้ตอนแรกผมว่าจะเอามาทำนาฬิกาข้อมือ แต่ติดปัญหาเรื่องกินไฟมาก 



อันนี้ล่าสุด เป็นจอแบบ Led Dot Matrix ขนาด 8x8 จุด ขนาดประมาณ 2x2cm ใช้แสดงเวลาโดยเวลาจะวิ่งผ่านหน้าจอไปช้าๆ ตอนนี้ผมเพิ่งสั่งอันใหม่ขนาดจิ๋วทำตัวเลขสูงประมาณ 3mm ไป น่าจะได้นาฬิกาที่เล็กดี



เวลาแสดงผลมันก็วิ่งแบบนี้แหละครับ

เทียบขนาดของ HDSP กับ Led Dot Matrix 8x8 และ Project I


ทีนี้มาดูความเที่ยงตรงของนาฬิกาพวกนี้กัน นาฬิกาที่ผมทำนี้ใช้ตัว Crystal (หรือว่า Quartz นั่นเอง) ในการกำเนิดความถี่ (ยกเว้นตัว GPS clock ที่รับความถี่จากดาวเทียมโดยตรง) ความเที่ยงตรงตาม specของมันอยู่ที่ บวกลบ 1.5 วินาทีต่อวัน เท่าที่ผมลองวัดดูก็อยู่ประมาณนั้นแหละ ตัว Crystal ที่ใช้เป็นของ CITIZEN ครับ หน้าตาแบบนี้แหละ


แกะนาฬิกาข้อมือ(Quartz)ออกดูก็จะเห็นตัวประมาณนี้อยู่ในเครื่องนาฬิกา ซึ่งความเที่ยงตรงระดับนี้ผมยังไม่พอใจเพราะมันยังผิดเป็นนาทีถ้าวางทิ้งไว้เป็นปี ลองหาๆดูก็เจอ Crystal ที่มันเที่ยงตรงมากแบบผิดไปประมาณไม่กี่วินาทีในหนึ่งปี แต่ราคามันก็เอาเรื่อง (ตัวนึงเป็นหมื่น) ผมคงไม่เอามาลองหรอกครับมันแพงเกิน

นาฬิกาพวกนี้ผมทำแบบมือสมัครเล่น ดังนั้นท่านที่เป็นมืออาชีพด้านอิเล็กทรอนิสค์โดยตรงก็กรุณาชี้แนะด้วยครับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ

No comments: